top of page

รับปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และงานวิจัย

การออกแบบการทำวิจัย

เริ่มจากการค้นหาปัญหาหรือข้อบกพร่องของนโยบาย ยุทธศาตร์ การบริหารจัดการ การปฏิบัติงานขององค์กร เพื่อใช้หลักการทำวิจัยเข้าไปค้นหาคำตอบหรือแก้ปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบ ระเบียบ ถูกต้อง และเป็นไปตามหลักวิชาการที่ได้รับการยอมรับและเป็นมาตรฐานสากล

 

การหาข้อมูลที่ใช้ในการงานวิจัย

ไปค้นหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นของสภาพปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ก็จะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 4 อย่าง ได้แก่ คน, เครื่องมือ เครื่องจักร, การบริหารจัดการ และงบประมาณ โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, สังคม, ชุมชน, สิ่งแวดล้อม, ประเทศ และระหว่างประเทศ หลังจากนั้นไปค้นหาแนวคิดและทฤษฎี รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพื่อนมาเป็น ต้นแบบในการแก้ปัญหา โดยนำมาศึกษาเปรียบเทียบ เทียบเคียงกับงานวิจัยที่เราต้องการหาคำตอบ

 

การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับการเก็บข้อมูล

เพื่อค้นหาคำตอบในการวิจัยจำเป็นจะต้องสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล และจะต้องพิจารณาว่างานวิจัยนั้น

เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ ส่วนใหญ่ก็จะใช้แบบสัมภาษณ์หรือแบบสอบถามและก่อนจะนำมาใช้จะต้องนำแบบสัมภาษณ์หรือแบบสอบถามไปทดสอบความเที่ยงและความตรง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ 

 

การแนะแนวการเขียนรายงานวิจัย

งานวิจัยจะมีลักษณะเป็นงานวิชาการ ทำให้การเขียนจะต้องใช้ภาษาเขียนและไม่ควรนำภาษาพูดมาใช้ โดยในต่างประเทศถึงใช้คำว่า วรรณกรรม

(Literature) เพื่อสื่อถึงระดับของการใช้ภาษาที่สูงขึ้นมากกว่าปกติและการเขียนจะต้องมีลักษณะการลำดับเหตุการณ์จากมากไปหาน้อย หรือมีลักษณะคล้ายกับรูปสามเหลี่ยมฐานคว่ำ และการเขียนเนื้อหาจะต้องมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันต่อเนื่องไปตลอดในแต่ละย่อหน้า รวมถึงจะต้องอ้างถึงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้สนับสนุนข้อมูลในแต่ละบท เพราะผู้เขียนไม่สามารถเอาตนเองมาเป็นแหล่งอ้างอิงได้

 

การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย

หน้าที่ของผู้ช่วยหรือที่ปรึกษางานวิจัยจะต้องแนะนำ สอน อธิบาย ให้นักศึกษา ป.เอก เข้าใจถึงกระบวนการทำวิจัยในทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย โดยจะเป็นในลักษณะของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีความสำคัญและจำเป็นเพื่อให้สามารถนำงานวิจัยไปนำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาได้อย่างรู้ลึก รู้จริง และแตกฉาน อันจะนำประโยชน์มาซึ่งตัวนักศึกษาเองได้เข้าใจกระบวนการถ่องแท้

 

การแนะนำรูปแบบงานวิจัยที่มีมาตรฐาน

ประเด็นนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากแต่สามารถทำให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้โดยง่าย กล่าวคือ ควรไปค้นหาข้อมูลของงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ปกติจะใช้แหล่งข้อมูลที่มีมาตรฐานทางวิชาการในระดับสูง อาทิ ScienceDirect, Emerald Insight, Ebsco, ProQuest, SAGE, Havard Business Review, Cambrige Scientific, Oxford Journal etc. มาเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงในเล่มงานวิจัย เท่ากับว่าเราสร้างมาตรฐานงานวิจัยของเราให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลไปโดยปริยาย

 

bottom of page