top of page

ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์

 

จากประสบการณ์ที่ถูกต้องในการทำวิทยานิพนธ์ ขอชี้แจงเป็นขั้นตอนให้เข้าใจ ดังนี้

 

1. กำหนดชื่อเรื่อง

การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์มีหลักการสำคัญคือ ควรเลือกเรื่องหรือเนื้อหาที่ผู้วิจัยมีประสบการณ์ตรงหรือเคยศึกษาเรียนรู้มาก่อน

เพื่อง่ายต่อการต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้พื้นฐาน ประกอบการอธิบายให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้เข้าใจประเด็นที่ต้องการทำวิทยานิพนธ์ 

 

2. ศึกษาวิทยานิพนธ์ในอดีต

ค้นหาข้อมูลวิทยานิพนธ์ที่มีนักศึกษาได้ทำการศึกษาไว้ก่อนหน้า เพื่อนำมาประกอบการศึกษาแนวคิดและทฤษฎี รวมถึงผลการวิจัยหรือคำตอบของการวิจัย

 

3. กำหนดขอบเขตของการศึกษา

ในที่นี้ขอบเขต ประกอบด้วย

- เนื้อหา ระบุถึงข้อมูล ตัวแปร ปัจจัย ที่ต้องการจะหาคำตอบ

- ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กำหนดกลุ่มประชากรที่สนใจศึกษา และหาขนาดกลุ่มตัวอย่างตามทฤษฎีทางสถิติ

- ระยะเวลาที่ศึกษา เป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาของการวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด

 

4. กรอบแนวคิดในการวิจัย

การสร้างตัวแปรหรือปัจจัยของกรอบแนวคิดควรจะมีที่มาจากแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพราะจะทำให้กรอบแนวคิดมีมาตรฐานและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับงานวิจัย

 

5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยส่วยใหญ่จะใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม

การสัมนาเชิงปฏิบัติการ การสนทนากลุ่ม การสังเกตุการณ์ เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูล

 

6. สถิติในการวิจัย

ส่วนใหญ่จะหมายถึงสถิติเชิงปริมาณ หรือสถิติเชิงอนุมาน Inferential Statistical มาทำการวิเคราะห์ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม 

เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยจะมีหลักการเบื้องต้นนั้น จะต้องทราบว่าตัวแปรอยู่ในระดับใด เช่น มาตรานามบัญญัติ

มาตราลำดับ มาตราช่วง มาตราอัตราส่วน จะทำให้สามารถเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

 

7. การสรุปและอภิปรายผล

นำผลการวิเคราะห์ทางสถิติในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่อหาความเป็นเหตุเป็นผล ความสัมพันธ์ของผลการวิจัยทั้งสองส่วน และนำมาใช้ในการสรุปและอภิปรายผล เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมถึงหาความสอดคล้องหรือความขัดแย้งของผลวิจัยกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก่อนหน้า

bottom of page